ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เป้าหมายในชีวิตของตนเอง


รู้จัก...เป้าหมายในชีวิต 


   เป้าหมายในชีวิตของคนๆ หนึ่ง คือ สิ่งที่คนๆ นั้นให้ความหมาย ให้ความสำคัญ และอยากให้สิ่งๆ นั้นเกิดขึ้นในชีวิตของเขา หลายครั้งเป้าหมายในชีวิตทำหน้าที่เหมือนขั้วแม่เหล็กไฟฟ้า ที่ดึงดูดคนเราให้ลงมือทำสิ่งต่างๆ เพื่อไปสู่เป้าหมายนั้น คนที่มีเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจน จะรู้ว่าตัวเองต้องการอะไรบ้าง รู้ว่าเขาจะมีชีวิตอยู่เพื่ออะไร เพื่อใคร และเพื่อที่จะทำอะไร 
   คำถามที่มักพบคือ เพราะเหตุใดคนเราจึงมีปัญหาในการตระหนักถึงเป้าหมายในชีวิตของตน แม้ว่าจะอยู่ในวิสัยที่ทำได้ แต่ก็ไม่ได้ทำ หรือว่าเรายุ่งเกินไป หรือเรามีเรื่องรกใจ หรือมีอะไรต้องทำมากมายเกินไป จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะปล่อยให้ชีวิตล่องลอยไปตามผู้คนแวดล้อมบอกให้ทำ หรือตามสังคมบอกว่าดี โดยไม่รู้ตัวว่าตนเองต้องการอะไร หรือปล่อยให้เรื่องที่เคยต้องการจะทำหลายเรื่องผ่านไป เพราะสาเหตุว่าเรามีเป้าหมายในชีวิตไม่ชัดเจน
   คำอธิบายหนึ่งที่เป็นไปได้ คือ สิ่งที่คนเราตั้งใจทำอาจจะไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริงของเขาก็ได้ จริงอยู่คนเรานึกได้ว่าต้องทำโน่นต้องทำนี่ นั่นคือการมีความตั้งใจ แต่ความตั้งใจไม่ใช่เป้าหมายของชีวิต ความตั้งใจคือการที่เราตกลงใจว่าจะกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด แต่เป้าหมายในชีวิตจะเป็นการตั้งทิศทางที่มุ่งไปสู่บางสิ่งที่คนเราเห็นว่าสำคัญหรือมีความหมายต่อเขา เป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจน จะเป็นตัวกำหนดทิศทางการเลือกความเป็นไปได้ต่างๆ และนำไปสู่การกระทำกิจกรรมต่างๆในชีวิต
 “แน่นอนว่าเป้าหมายในชีวิตทุกข้อจะเริ่มขึ้นจากความตั้งใจก่อนเสมอ”

วิธีการ..ตั้งเป้าหมายในชีวิต

   ง่ายที่สุด เราสามารถเริ่มต้นด้วยนึกถึงเป้าหมายในปัจจุบัน โดยเวลา 2 นาที “ให้นึกถึงสิ่งที่ต้องการหรือปรารถนาจะให้เกิดขึ้นในชีวิตของตัวเอง” แล้วเขียนลงไปอย่างรวดเร็วเพื่อดูว่าตั้งใจมุ่งไปเรื่องใดและอย่างไร ดูตัวอย่างของ เป้าหมายของสุดใจ
   หนึ่ง เป้าหมายที่อยากทำให้สำเร็จภายใน 5 ปีข้างหน้า
      o ทำงานทำเงินเดือน 150,000 บาท ขึ้นไป
      o มีเงินเก็บไว้ซื้อบ้านของตนเอง
      o ไปเที่ยวต่างประเทศกับครอบครัว
   สอง เขียนเป้าหมายที่อยากทำให้สำเร็จภายใน 1 ปีข้างหน้า
      o เปลี่ยนงาน และ ทำกิจกรรมต่างๆ ให้หลากหลายมากขึ้นเพื่อเพิ่มประสบการณ์
      o หาข้อมูลงานที่ตรงสายงานที่เรียน
      o หัดขับรถในกรุงเทพให้คล่องเส้นทางและสอบใบขับขี่
   สาม เขียนเป้าหมายที่อยากทำให้สำเร็จภายใน 6 เดือนข้างหน้า
      o สะสางงานประจำที่คั่งค้าง
      o เรียนภาษาที่สาม เช่น อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น
      o ขับรถไปทำงานด้วยตนเอง

   ข้อสังเกต แต่ละช่วงเป้าหมายระยะเวลา ระยะปานกลาง และระยะสั้นของสุดใจสอดคล้องกันทุกช่วง เป้าหมายเป็นรูปธรรม มีความหลากหลายของเป้าหมายน้อยไปบ้างตรงที่สุดใจให้ความสนใจเรื่องเรียน การงาน เป็นหลักให้ความสนใจครอบครัวบ้าง แต่ยังขาดการพักผ่อนและการดูแลตัวเอง เช่น การออกกำลังกาย หรือกิจกรรมอื่นในชีวิต ที่สำคัญคือสุดใจเป็นผู้กำหนดเป้าหมายในชีวิตด้วยตนเอง และเป็นเป้าหมายในชีวิตทีเธอรู้สึกพอใจมากที่สุดในช่วงเวลาและวัยนี้ ซึ่งเป้าหมายในชีวิตที่ดีจะต้องมีความสอดคล้องกับพัฒนาการชีวิตด้วย


cr.http://www.youthonlinecps.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อาหารบำรุงสมอง ในเซเว่น

ช่วงสอบกินอะไรกัน ( แนะนำ อาหารบำรุงสมอง เพิ่มความจำ ในเซเว่น ) วัยเรียนเป็นวัยที่จำเป็นต้องใช้สมอง และหากใช้สมองมากๆ เราต้องบำรุงสมอง แล้วยิ่งช่วงสอบ คงโต้รุ่งอ่านหนังสือกันใช่ไหม อ่านทั้งวันทั้งคืน  จนลืมใส่ใจเรื่องการกิน ของ่ายๆ เร็วๆ ก็มาม่า ข้าวกล่อง อาหารตามสั่ง หรือ พึ่งร้าน  สะดวกซื้อกันซะส่วนใหญ่ เอะอะก็วิ่งเข้าเซเว่น ซื้อขนมขบเคี้ยวมากินไปอ่านไป ทั้งๆ ที่ช่วงสอบควรให้ความสนใจกับการทานอาหารที่บำรุงสมองเป็นที่สุด  เพราะต้องคิด ต้องจำ ต้องใช้พลังงานมากเป็นพิเศษ  วันนี้เลยมาแนะนำอาหารบำรุงสมองชั้นดีที่หาซื้อได้ในร้านสะดวกซื้อ ไปดูกันว่าจะมีอะไรที่กอบกู้ความจำของเรากันบ้างง!! 1.ไข่ บรรดาไข่ทั้งหลาย : ไข่ต้ม ไข่ลวก ไข่ออนเซ็น " ซีลีเนียม " จะช่วยให้อารมณ์ดีขึ้นได้ กรดอะมิโนที่สำคัญต่อร่างก­­­ายถึง 9 ชนิด ช่วยบำรุงความจำ ปริมาณแร่ธาตุและวิตามินในไข่ช่วยสร้างเสริมการทำง­­­านของสมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำและการเรียนรู้ ไข่ไก่ให้พลังงานนานหลายชั่วโมง ไม่ทำให้หิวบ่อยๆ อ่านหนังสือได้สบายๆ เล้ยย แนะนำให้ทานเมนูไข่ๆ ช่วงเช...

การอ่านหนังสือให้จำ

8 เคล็ดลับอ่านหนังสือกองโตให้เร็วและจำแม่น          หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมนักศึกษาเอกประวัติศาสตร์หรือกฎหมายถึงทนอ่านหนังสือเป็นกองตั้งๆได้อยู่ทุกสัปดาห์ อะไรคือความลับของพวกเขา? ที่แน่นอนอย่างหนึ่งคือพวกเขาไม่อ่านเรียงจากหน้าแรกไปจนหน้าสุดท้ายตามลำดับ ว่าแต่พวกเขาจะจดจำข้อมูลที่เหลือได้อย่างไรถ้าไม่อ่านตามลำดับอย่างที่พวกเราคุ้นเคยกัน 8 เทคนิคต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับการอ่านหนังสือที่อาจช่วยให้คุณจัดการกับกองหนังสือที่ดูเหมือนต้องใช้เวลาเป็นปีกว่าจะอ่านจบได้           1. อ่านบทสรุปก่อนเป็นอันดับแรก          นักเขียนจำนวนไม่น้อยมักจะเปิดบทแรกของหนังสือด้วยภาษาที่ยืดยาว เข้าใจยาก และต้องตีความกันหลายชั้น และด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้คน(ตั้งใจ)อ่านหลายคนตกหลุมพรางของความเหนื่อยหน่ายและเขวี้ยงหนังสือทิ้งไปด้วยความผิดหวัง ในเมื่อผู้อ่านเจอหลุมพรางอย่างกรณีนี้ละก็ เคล็ดลับคือ  "กระโดดหลบหลุม"  นี้เสีย เปิดไปที่บทสุดท้ายของหนังสือ และมองหาบทสรุป นักเขียนหนังสือ...